DNS Caching ให้ Client มา Request ขอใช้ DNS ได้สักพัก
เมนู IP > DNS > Allow Remote Requests คือการเปิดใช้งาน DNS
Caching Server เพื่อบริการ DNS กับเครื่องลูกข่าย
แต่ถ้าไม่กำหนด firewall อะไรเลย
ก็เป็นการให้บริการกับคนทั้งโลก!!! โอ…
บริการของเรา ระดับโลกจริงๆ นะฮัฟฟ์ฟ์
หลังจากใช้งานไปสักพัก ก็เริ่มรู้สึกประหลาดใจกับ DNS Cache หน้าตาแปลกๆ 0.0.0.0
เอ…
ที่ไหนก็ได้ เอ๊ะ.. กลิ่นชักไม่ดีแล้ว
ทดสอบ ลอง solve dns ด้วย real ip ของ Mikrotik
ปรากฎว่า
ทำได้??
การทดสอบง่ายๆ ใช้คำสั่ง
nslookup imhofocus.com real-ip-mikrotik
ตัวอย่าง
root@pollhsp2:~# nslookup www.imhofocus.com 11.22.33.44
Server: 11.22.33.44
Address: 11.22.33.44#53
Non-authoritative answer:
Name: www.imhofocus.com
Address: 27.254.35.142
อื้ม… Mikrotik ที่ใช้ทำหน้าที่เป็น Gateway ของเรา
เป็นผู้ให้บริการ Free DNS Cache ระดับโลกไปซะแล้ว
เปิดการป้องกัน!!!
เปิด New terminal แล้ววางสคริปต์นี้ลงไป ก่อนที่จะเอาไปใช้งานกัน
ให้ก๊อปปี้คำสั่งลงใน Notepad แล้วแก้ไข in-interface ให้เป็น interface
ที่ใช้ออกเน็ตนะครับ
ถ้าเป็น pppoe-client ก็แก้ไขชื่อตามให้เรียบร้อย ก่อนที่จะวางคำสั่งลงไป
#ป้องกันการขอใช้ DNS Caching จากภายนอก อย่าลืมแก้ไข Interface ที่ใช้ต่อ internet
ล่ะ
/ip firewall filter
add chain=input in-interface=ether11 protocol=udp dst-port=53 action=drop
add chain=input in-interface=ether11 protocol=tcp dst-port=53 action=drop
#ป้องกันการโดนทำ DHCP Relay จากภายนอก จัดไป
/ip firewall filter
add chain=forward protocol=udp dst-port=53 out-interface=!ether11 action=drop
add chain=forward protocol=tcp dst-port=53 out-interface=!ether11 action=drop
#ป้องกันเครื่องลูก กำหนด ip dns เอง
ซึ่งจะมีผลทำให้บางคนไม่ได้หน้า login hotspot ในกรณีกำหนด splash
screen แบบ domain name
/ip firewall nat
add chain=dstnat protocol=udp dst-port=53 in-interface=!ether11 action=redirect
add chain=dstnat protocol=tcp dst-port=53 in-interface=!ether11 action=redirect
ทดสอบซ้ำอีกที
root@pollhsp2:~# nslookup www.imhofocus.com 11.22.33.44
;; connection timed out; no servers could be reached
สำเร็จ เราป้องกัน Gateway ของเรา ออกจากการให้บริการระดับโลกได้สำเร็จ
จบครับ
😀
** ข้อควรระวัง การทดสอบการ solve dns ควรใช้เครื่องที่อยู่ภายนอกเน็ตเวิร์กที่จะทดสอบ
เพื่อป้องกันการสับสนของผู้ทดสอบเอง **
Credit
http://forum.mikrotik.com/viewtopic.php?f=2&t=69677